บทความ2

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

 

การประชุมสภานิติบัญญัติ (สนช.) ในวันนี้ (20 เม.ย.) มีวาระสำคัญนั่นคือ การพิจารณากฎหมายจำนวน 2 ฉบับ คือ

ร่างพ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ มีทั้งหมด 25 มาตรา มีสาระสำคัญคือ การกำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ เป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งจะต้องไม่น้อยกว่า 20 ปี การประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติให้ทำเป็นประกาศพระบรมราชโองการ และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ อีกทั้งการกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ของคณะรัฐมนตรีก่อนจะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ

000 นอกจากนี้ให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา รองนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประธานกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานสภาหอการค้าไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศ และประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นกรรมการ

000 อีกฉบับคือ ร่างพ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ ที่กำหนดให้การปฏิรูปประเทศต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้ 1.ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจ 2.สังคมมีความเป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ 3.ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ

000 นอกจากนี้ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปประเทศโดยคณะรัฐมนตรี(ครม.)จะเป็นผู้กำหนด ซึ่งแต่ละคณะจะประกอบด้วย ประธานหนึ่งคน กรรมการจำนวนไม่เกิน 14 คน โดยจะแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์ในด้านที่จะดำเนินการปฏิรูป โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี วางยุทธศาสตร์ระยะยาว 20 ปี

http://www.thaipost.net/?q=%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87-20-%E0%B8%9B%E0%B8%B5

 

Welcome

Welcome to SujindaChandra Website

ความนำ

                คำที่เราค่อนข้างคุ้นเคยตามสื่อต่างๆในปัจจุบันที่แสดงถึงความรู้สึกที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือคำว่า “ภาพพจน์” , “ภาพลักษณ์” หรือ “การสร้างภาพ” ตัวอย่างเช่น ประโยคที่ว่า “ภาพพจน์ของตำรวจในสายตาประชาชน” , “โรงพยาบาลแห่งนั้นมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดี” หรือ “นักการเมืองคนนี้พยายามสร้างภาพว่าเป็นผู้รังเกียจการคอรัปชั่น” เป็นต้น

                ในบทความฉบับนี้ จะกล่าวถึง หลักการ แนวคิด วิธีการ และข้อเสนอแนะในการสร้าง “ภาพลักษณ์ของโรงเรียน” ในทางที่ดี เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการบริหารโรงเรียนให้เป็นที่ยอมรับและศรัทธาของประชาชนและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้เกี่ยวข้องต่อไป
หลักการและแนวคิด

A

B

           bird Cat
 Dog Rat

                คำว่า “ภาพพจน์” เป็นคำในภาษาไทยที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Figure 

of Speech” ซึ่งหมายถึง  การพูดที่เป็นสำนวนโวหารทำให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ   ส่วนคำว่า  “ภาพลักษณ์” ตามพจนานุกรมจะหมายถึง ภาพที่เห็นในกระจกเงา ภาพที่ผ่านจากกล้องส่อง หรือภาพที่อยู่ในความคิด ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Image” (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ,2525)
                Robinson and Barlow (1959 อ้างถึงในจิราภรณ์ สีขาว , 2536) ได้อธิบายว่า ภาพลักษณ์ หมายถึง ภาพที่เกิดขึ้นในจิตใจ ซึ่งบุคคลมีความรู้สึกนึกคิดต่อองค์การ สถาบัน ภาพในใจดังกล่าวของบุคคลนั้นๆ อาจจะได้มาจากทั้งประสบการณ์โดยตรง และประสบการณ์ทางอ้อมของตัวเขาเอง เช่น ได้ประสบมาด้วยตนเอง หรือได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าของผู้อื่น หรือจากกิตติศัพท์เล่าลือต่างๆนานา เป็นต้น Continue reading “Welcome”